การบรรยายความรู้ทางวิศวกรรม ณ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ 14 พ.ค. 57

เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2557 เวลา 10.00 – 12.00 น. บริษัท stabil จำกัด ได้รับเกียรติจาก ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ 18 ท่าน เชิญบริษัท stabil จำกัด บรรยายความรู้ทางวิศวกรรมเกี่ยวกับ ฟ้าผ่า ไฟกระโชกหรือไฟกระชาก ล่อฟ้า และระบบสายดิน

การบรรยายทางวิศวกรรม วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2557

ระบบเเละอุปกรณ์สลายฟ้าผ่า ล่อฟ้า ไฟกระโชก เเละสายดิน พร้อมทดลองให้เห็นจริง !!!ขอบคุณผู้เข้าร่วมงานทุกๆท่านมากๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งที่ให้งานนี้เต็มไปด้วยทั้งความรู้

บริษัท Stabil

Stabil ผู้ผลิตระบบป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก และระบบสายดิน ชั้นนำของประเทศ

ProPlug

- ป้องกันไฟกระโชก(ไฟกระชาก) แบบช่วงสั้น (Transient) ได้มากกว่า 4 หมื่น แอมแปร์ - ป้องกันไฟกระโชก(ไฟกระชาก) แบบช่วงยาว (TOVs) ได้มากกว่า 5 A in 0.5 Sec - ป้องกันอันตรายจากการลัดวงจรหรือกระแสเกิน

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การทำระบบป้องกันฟ้าผ่าและระบบสายดินที่ได้มาตรฐาน ควรทำอย่างไร

คำถาม : พอดีต้องการทำระบบป้องกันฟ้าผ่าและระบบสายดิน ที่เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับระบบกราวด์ของทั่วโลก จากที่อ่านข้อมูลจาก websites ต่างประเทศ และข้อมูลจากหลายๆ บริษัท จะต่อกราวด์ของทุกระบบเข้าที่ Building Ground ที่เดียว โดยเน้นว่าต้องเป็นกราวด์จุดเดียว Common Grounding Electrode for All System Grounding in or at a Building, it's a must. ไม่ว่าจะเป็น กราวด์ของระบบแอร์ ระบบโทรศัพท์ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบ UPS etc... โดยให้เหตุผลว่า
1. ถ้ามี Ground หลายอัน จะเกิดกราวด์ลูป, กราวด์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงกราวด์ของระบบฟ้าผ่า ควรรวมเป็นจุดเดียวกัน ที่ Building Ground เป็น Common Ground. - การ jump กราวด์ เข้ากับ neutral มากกว่า 1 จุด ก็จะทำให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกัน
2. ถ้ามีฟ้าผ่า แล้วมี ground หลายจุด จะเกิดความต่างศักย์ระหว่าง Ground Rod ทำให้เกิดอันตรายมากๆ จึงกำหนดว่าต้องต่อร่วมกัน Must be connected to the same Earth/Ground electrode system. If separated, there will be gradient between two grounding systems which could lead to flashover or even electric shock.
แต่ บจก.สตาบิล นั้น กราวด์ฟ้าผ่าและกราวด์ของระบบไฟฟ้าแยกจากกัน จะกลับกันกับ 2 ข้อข้างบน ไม่ทราบมีเหตุผลมาหักล้างสองข้อข้างบนอย่างไร
คำตอบ :
1. ระบบกราวด์แบบกราวด์ลึก ซึ่งมีความลึกตั้งแต่ 12 เมตรขึ้นไป ที่บริษัท สตาบิล จำกัด ได้นำเสนอนั้น ได้ระบุให้มีการแยกแท่งกราวด์ระบบ ( SG ) ออกจากแท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( LG ) อย่างชัดเจน แต่จริงๆ แล้วเมื่อมองให้ลึกเข้าไปถึงการเชื่อมต่อกันทางวงจรไฟฟ้า การทำกราวด์แบบกราวด์ลึกจะมีการเชื่อมต่อกันทางไฟฟ้าเช่นเดียวกับการทำกราวด์แบบมาตรฐานทั่วไป ที่ใช้หลักการของการทำให้เกิด Equip Potential หรือ Same Potential เพื่อไม่ให้เกิดความต่างศักย์ขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่งของระบบกราวด์ไฟฟ้าในขณะที่เกิดฟ้าผ่า หรือไฟกระโชก จึงทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออยู่ในระบบนั้นได้รับความปลอดภัย เพียงแต่การทำกราวด์แบบ บจก. สตาบิล นั้น จะไม่มีการทำ Equip Potential ของแท่งกราวด์ระบบ ( SG ) กับแท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( LG ) ที่ระดับผิวดิน แต่จะไปทำการ Equip Potential ที่ Common Earth หรือจุดศูนย์ร่วมของดินแทน
2. การทำให้เกิด Equip Potential คือการนำจุดเชื่อมต่อกราวด์ต่างๆ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเสมือนให้เป็นจุดๆเดียว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิดความต่างศักย์กันทางไฟฟ้าเมื่อมีกระแสฟ้าผ่า หรือกระแสไฟกระโชกขึ้นในระบบฯ ดังนั้นการทำกราวด์แบบมาตรฐานทั่วไปจึงระบุให้ต้องทำการเชื่อมต่อระบบกราวด์ทั้งหมดเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น กราวด์ฟ้าผ่า กราวด์ระบบ กราวด์ไฟฟ้าสื่อสาร หรืออื่นๆ และให้เชื่อมต่อเข้ากันกับแท่งกราวด์และโครงสร้างอาคาร ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดการ Equip Potential หรือ Same Potential นั่นเอง
3. การทำกราวด์แบบ บจก.สตาบิล นั้น เป็นการทำกราวด์แบบกราวด์ลึกซึ่งจะกำหนดค่าความต้านทานดินของแท่งกราวด์แบบแท่งกราวด์เดี่ยว ให้มีค่าเข้าใกล้ 0 โอห์มมากที่สุด ดังนั้นค่า คตท ดินของแท่งกราวด์ที่วัดได้จึงเป็นค่า คตท ดินของแท่งกราวด์เดี่ยวเทียบกับ Common Earth ดังนั้นจึงเปรียบเสมือนว่า แท่งกราวด์ระบบ ( SG ) กับแท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( LG ) นั้นได้ถูกเชื่อมต่อกันทางไฟฟ้า และเกิดการ Equip Potential ณ ที่จุด Common Earth นี้เอง
จากประสบการณ์การที่บริษัท สตาบิล จำกัด ได้จากติดตั้งและปรับปรุงระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าและระบบสายดินมามากกว่า 16 ปีที่ผ่านมาพบว่า การทำกราวด์แบบมาตรฐานทั่วไปนั้น แม้ว่าค่า คตท ดินรวมของแท่งกราวด์จะต่ำและมีการทำ Equip Potential ของระบบกราวด์ที่ระดับผิวดินแล้วก็ตาม แต่ระบบฯ ก็ยังคงได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่าและไฟกระโชกอยู่เป็นจำนวนมาก บริษัทฯ จึงได้ทำการปรับปรุงโดยการติดตั้งระบบกราวด์แบบกราวด์ลึกเป็นการทดแทน และพบว่าระบบไฟฟ้าที่เคยเกิดปัญหานั้น มีเสถียรภาพการทำงานที่ดีขึ้นและไม่ได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่าและไฟกระโชกที่เคยเกิดขึ้นอีกเลย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายจากฟ้าผ่าและไฟกระโชกที่อาจเกิดขึ้นกับท่าน การทำกราวด์แบบกราวด์ลึกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการทำกราวด์ที่น่าสนใจและให้ผลคุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นอย่างมาก

ถ้านำ Surge Protector ในรางปลั๊กไฟที่ขายทั่วไป มาใช้กับระบบไฟฟ้าในอาคารที่ไม่มีกราวด์ (ปลั๊กไฟแบบเก่าที่มี 2 รู) เวลาเกิดไฟกระโชก ตัวอุปกรณ์ Surge Protector จะทำหน้าที่ป้องกันได้หรือไม่

 

คำตอบ : เนื่องจากระบบไฟฟ้าของประเทศไทยเป็นแบบ TN-C-S ซึ่งกำหนดให้มีการปักแท่งกราวด์ภายในบ้าน บริเวณตู้ MDB (ตู้เมนไฟ) และกำหนดให้ทำการเชื่อมต่อสายกราวด์กับสาย Neutral เข้าด้วยกัน (ที่ตู้ MDB เท่านั้น) จึงทำให้การนำปลั๊กรางป้องกันไฟกระโชกมาเสียบใช้งานกับปลั๊ก (ที่ผนังกำแพง) แบบ 2 รูที่ไม่มีกราวด์ หรือปลั๊กแบบ 3 รูที่มีกราวด์ ก็จะมีประสิทธิภาพในการทำงานเท่ากัน คือสามารถใช้งานในการป้องกันไฟกระโชกได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากเมื่อเกิดไฟกระโชกขึ้น อุปกรณ์ป้องกันจะทำการดึงไฟกระโชกที่เกิดขึ้นจากสาย Line ผ่านตัวอุปกรณ์ฯ ส่งกลับไปยังสาย Neutral เพื่อลงกราวด์ที่แท่งกราวด์ที่ตู้ MDB จึงทำให้การระบายกระแสไฟกระโชกที่เกิดขึ้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตามการระบายกระแสไฟกระโชกจะทำได้ดีและรวดเร็วเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของระบบสายดินที่ทำการติดตั้งนั้นๆ ด้วย กรณีที่บ้านพักอาศัยไม่มีการติดตั้งแท่งกราวด์ที่บริเวณตู้ MDB เมื่อเกิดไฟกระโชกขึ้น ปลั๊กรางป้องกันไฟกระโชกจะทำการดึงไฟกระโชกที่เกิดขึ้นจากสาย Line ผ่านตัวอุปกรณ์ฯ ส่งกลับไปยังสาย Neutral เพื่อไปลงกราวด์ที่แท่งกราวด์ของหม้อแปลงไฟฟ้า หรือที่จุด Multi Point Ground ของการไฟฟ้าบริเวณภายนอกอาคารที่อยู่ไกลออกไป ซึ่งการระบายกระแสไฟกระโชกจะทำได้ดีและรวดเร็วเพียงใดนั้น ก็ขึ้นกับระยะทางและประสิทธิภาพของแท่งกราวด์ของการไฟฟ้านั้นๆ ด้วย ดังนั้นโดยภาพรวมแล้วประสิทธิภาพของปลั๊กรางป้องกันไฟกระโชกเมื่อเสียบใช้งานร่วมกับปลั๊ก(ที่ผนังกำแพง) แบบ 2 รูที่ไม่มีกราวด์ หรือปลั๊กแบบ 3 รูที่มีกราวด์ ก็จะให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่ไม่แตกต่างกัน
กรณีที่ไม่มีการติดตั้งแท่งกราวด์ภายในบ้านบริเวณตู้ MDB จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ฯ ลดลงไปเหลือเพียง 70-80 % เนื่องจากกระแสไฟกระโชกจะถูกนำไปลงกราวด์ที่แท่งกราวด์ของการไฟฟ้าในบริเวณที่อยู่ไกลออกไปนั่นเอง หมายเหตุ การปักแท่งกราวด์ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายแบบและหลายวิธี แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเราขอแนะนำการทำกราวด์แบบแท่งกราวด์ลึก เพราะให้ประสิทธิภาพสูงสุดในสภาพภูมิประเทศแบบประเทศไทย ซึ่งขอสรุปง่ายๆ คือทำการเจาะฝังแท่งกราวด์ที่ความลึกอย่างน้อย 12 เมตรในเขตกรุงเทพฯ หรือที่ความลึกอย่างน้อย 24 เมตรในต่างจังหวัด โดยแท่งกราวด์ที่ใช้อาจจะเป็นท่อประปา (Hot Dip Galvanized) หรือท่อ Stainless Steel ขนาด E 1 นิ้ว ยาว 6 เมตรต่อท่อน เป็นต้น

Surge Protector ในรางปลั๊กไฟที่ขายทั่วไปป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

คำตอบ : อุปกรณ์ Surge Protector ที่ติดตั้งในปลั๊กรางป้องกันไฟกระโชกทั่วไป สามารถใช้ป้องกันไฟกระโชกแบบพื้นฐานได้ คือเป็นไฟกระโชกแบบช่วงสั้นหรือที่เรียกว่า Transient แต่ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกแบบช่วงยาว หรือที่เรียกว่า TOVs (Temporary Over Voltages) ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว คือการเกิดไฟกระโชกที่มีระยะเวลาการเกิดนานจาก mSec ถึง a few seconds ซึ่งอุปกรณ์ Surge Protector แบบทั่วไปไม่สามารถที่จะรองรับการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาวนี้ได้ และไฟกระโชกแบบช่วงยาวนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เปราะบางเสียหายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยสูงสุด ท่านจึงควรเลือกใช้แต่อุปกรณ์ Surge Protector ที่มีคุณสมบัติสามารถป้องกันไฟกระโชกทั้งแบบช่วงสั้น Transient และไฟกระโชกแบบช่วงยาว TOVs ได้ในตัวเดียวกัน

ระบบป้องกันฟ้าผ่าที่ดีควรเป็นอย่างไร

 

คำตอบ : ระบบป้องกันฟ้าผ่ามีส่วนประกอบที่สำคัญๆ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังนี้ 
1. หัวล่อฟ้า ( Air-terminal ) 
2. ตัวนำลงดิน ( Down Conductor/Down Lead ) 
3. แท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( Lightning Ground ) 

1. หัวล่อฟ้า ( Air-terminal ) ในกรณีที่เกิดฟ้าผ่าขึ้นหัวล่อฟ้าจะเป็นตำแหน่งที่เราต้องการให้ฟ้ามาผ่าลง ดังนั้นหัวล่อฟ้าจึงควรติดอยู่ในตำแหน่งที่สูงสุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เช่น อยู่เหนือจากจุดที่สูงที่สุดของอาคาร ( เสาอากาศทีวี, เสาอากาศวิทยุ, แท๊งค์น้ำ ฯลฯ ) ขึ้นไปอย่างน้อย 2 เมตร (ตามมาตรฐานของบริษัทสตาบิล) ตัวหัวล่อฟ้าควรทำด้วยโลหะที่มีคุณสมบัติการเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี ทนต่อการหลอมละลาย เช่น แท่งทองแดง แท่งสเตนเลส แท่งทองแดงชุบดีบุก แท่งเหล็ก หรือวัสดุตัวนำอื่นๆ ซึ่งการพิจารณาวัสดุที่นำมาใช้ สามารถพิจารณาได้จากพื้นที่ที่ติดตั้ง เช่น กรณีอยู่ใกล้ทะเลควรใช้วัสดุที่สามารถทนการกัดกร่อนได้ดี หรือพิจารณาจากงบประมาณที่ตั้งไว้เป็นต้น การติดตั้งหัวล่อฟ้าจะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของหัวล่อฟ้าเชื่อมต่อกับตัวอาคาร ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบจากฟ้าผ่า ที่อาจเกิดขึ้นกับตัวอาคารและระบบไฟฟ้าในอาคารของท่าน ตัวหัวล่อฟ้าควรมีลักษณะเป็นปลายแหลม เนื่องจากจะมีคุณสมบัติในการถ่ายเทประจุไฟฟ้าในอากาศได้ดี และควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 5/8 นิ้ว ยาวไม่น้อยกว่า 10 นิ้ว  ทั้งนี้เพื่อให้สามารถรองรับกระแสฟ้าผ่าขนาดใหญ่ได้ดี 

2. ตัวนำลงดิน ( Down Conductor/Down Lead ) ควรใช้สายตัวนำที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าได้ดี ทนต่อการหลอมละลาย เช่นสายไฟ THW, สายทองแดงเปลือย, สายเหล็ก หรือสายตัวนำอื่นๆ ขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 70 มม2.(ตามมาตรฐานของบริษัทสตาบิล) ซึ่งการพิจารณาวัสดุที่นำมาใช้ สามารถพิจารณาได้จากพื้นที่ เช่นกรณีอยู่ใกล้ทะเลควรใช้วัสดุ ที่สามารถทนการกัดกร่อนได้ดี พิจารณาจากความยากง่ายในการติดตั้ง และจากงบประมาณที่ตั้งไว้เป็นต้น การต่อลงดินควรหาแนวเดินสาย ( จากหัวล่อฟ้าจนถึงแท่งกราวด์ฟ้าผ่า ) ที่สั้นที่สุดและเป็นแนวเส้นตรงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้เพื่อลดการเกิด Flash over เข้าบริเวณด้านข้างของอาคาร การต่อสายตัวนำลงดินควรใช้ Down-lead Support ชนิดลูกถ้วย Ceramic ในการยึดสาย ทั้งนี้เพื่อให้ระบบนำลงดิน แยกจากตัวอาคารได้อย่างแท้จริง 

3. แท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( Lightning Ground ) ท่านสามารถดูได้จากกระทู้ก่อนหน้านี้ ในหัวข้อเรื่อง กราวด์ลึกมีหลักการทำงานอย่างไร ในปัจจุบันหัวล่อฟ้าที่ใช้กันอยู่ในท้องตลาดมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น หัวล่อฟ้าแบบ Faraday, หัวล่อฟ้าแบบ Early Streamer Emission, หัวล่อฟ้าแบบ Radio Active, หัวล่อฟ้าแบบร่ม และหัวล่อฟ้าแบบอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งตามที่บริษัท สตาบิล จำกัด ได้กล่าวมาข้างต้น และจะขอแนะนำนั้น เป็นหัวล่อฟ้าแบบ Faraday ซึ่งหัวล่อฟ้าแบบ Faraday นี้ เป็นหัวล่อฟ้าแบบที่สามารถใช้งานได้ดี มีราคาถูก และเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายโดยทั่วไป มีมุมในการป้องกันฟ้าผ่าโดยเฉลี่ยประมาณ 45 องศา ( วัดจากปลายสุดของหัวล่อฟ้า ) จากประสบการณ์ของบริษัทสตาบิลที่ผ่านมาพบว่า การนำหัวล่อฟ้าแบบ Faraday มาต่อใช้งานร่วมกับระบบกราวด์ฟ้าผ่าแบบกราวด์ลึก จะทำให้ประสิทธิภาพและมุมในการป้องกันฟ้าผ่ามีมากยิ่งขึ้น เนื่องจากหัวล่อฟ้าจะสามารถถ่ายเทประจุไฟฟ้าระหว่างดินและประจุไฟฟ้าในอากาศผ่านแท่งกราวด์ฟ้าผ่าแบบกราวด์ลึกได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง 

การติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่า จุดเชื่อมต่อทุกจุด เช่น ระหว่างหัวล่อฟ้ากับสายตัวนำลงดิน และระหว่างสายตัวนำลงดินกับแท่งกราวด์ฟ้าผ่า จะทำการเชื่อมต่อด้วยวิธีหลอมละลายเนื้อโลหะเข้าด้วยกัน ( Exothermic Welding ) ซึ่งการเชื่อมต่อด้วยวิธีหลอมละลายเนื้อโลหะเข้าด้วยกันนี้ จะทำให้การถ่ายเทกระแสฟ้าผ่า ซึ่งเป็นกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ในระยะเวลาอันสั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงทำให้การเกิดผลกระทบจากฟ้าผ่าต่อตัวอาคารและระบบไฟฟ้า ในอาคารของท่านลดน้อยไปด้วยเช่นกัน.

เป็นที่ถกเถียงกันมานานเกี่ยวกับหัวล่อฟ้าแบบ Franklin Rod กับ Early Streamer Emission

 คำถาม :จากประสบการณ์ในการขายอุปกรณ์ป้องกัน surge และฟ้าผ่าของบริษัท สตาบิล จำกัด คุณคิดว่าหัวล่อฟ้าแบบ Early Streamer Emission ESE สามารถทำงานได้ตามคำโฆษณาหรือไม่ เพราะราคาแต่งต่างกันหลายร้อยเท่า...คิดว่าผู้ซื้อควรเลือกระบบป้องกันแบบไหนจึงคุ้มกว่ากัน

 
คำตอบ : เท่าที่ทราบหัวล่อฟ้าแบบ Early Streamer Emission เป็นแบบที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้คิดค้นออกแบบ ซึ่งทางด้านวิชาการยังไม่เป็นที่ยอมรับในสากล โดยหลักการพื้นฐานแล้ว หัวล่อฟ้าต้องมีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี และต้องคงทนต่อการถูกกัดกร่อนจากสภาพแวดล้อม เท่านี้ก็มากเกินพอแล้ว 
ซึ่งบริษัทฯ มีความเห็นว่า ควรเลือกใช้แบบ Franklin Rod แล้วนำเงินส่วนต่างระหว่างหัวล่อฟ้าแบบ Franklin Rod กับ Early Streamer Emission มาใช้ในส่วนของการทำระบบกราวด์ที่ดี ๆ น่าจะคุ้มค่ากว่ามากๆ

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การเลือกซื้ออุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ควรเลือกขนาดเท่าไรดี ?

คำตอบ : เป็นคำถามที่ตอบยาก เพราะไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดไฟกระโชกเมื่อใด ? และมีขนาดเท่าไร ? แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อขนาดของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก มีดังนี้คือ
1. พิจารณาถึงสถานที่ กล่าวคือ สถานที่ที่อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกจะถูกนำมาติดตั้งว่าเป็นพื้นที่ล่อแหลมมากน้อยขนาดไหน เช่น ถ้าอยู่บนเขาหรืออยู่บนพื้นที่โล่งก็ควรที่จะเลือกอุปกรณ์ป้องกันที่สามารถรับไฟกระโชกได้มากเช่น ขนาด 100KA at 8/20 µSec. แต่ถ้าอยู่ในพื้นที่ไม่ล่อแหลมก็เลือกขนาดรับไฟกระโชกได้ปานกลาง เช่น ขนาด 40KA at 8/20 µSec. เป็นต้น
2. พิจารณาถึงมูลค่าของความเสียหาย ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นจะถูกแบ่งเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ
          2.1 ความเสียหายทางตรง คือความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ( Loads ) ซึ่งก็จะมีมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ค่าๆ หนึ่ง และ
          2.2 ความเสียหายทางอ้อม เช่นระบบการผลิตต้องหยุดชะงักการสื่อสารโทรคมฯ ล่ม การถูกตัดขาดจากการรับส่งข้อมูลข่าวสารที่มีความสำคัญและเร่งด่วนทำให้เกิดความเสียหายต่อทั้งภาคธุรกิจ ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ความมั่นคง ภาพลักษณ์ต่อความเชื่อมั่นองค์กร และอื่นๆ ซึ่งความเสียหายเหล่านี้มีมูลค่ามากมายมหาศาลสุดที่จะประเมินค่าได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด จึงควรเลือกซื้ออุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกที่มีคุณภาพสูงเช่น มีคุณสมบัติในการป้องกันไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ได้ด้วย
 
 

คุณสมบัติที่สำคัญของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกที่จะพิจารณาในการเลือกซื้อมีอะไรบ้าง ?

คำตอบ : คุณสมบัติที่สำคัญของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกที่จะใช้ในการพิจารณาเลือกซื้อ มีดังนี้ 

1. ต้องมีความสามารถในการรับไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และแบบช่วงยาว ( TOVs ) ได้ 
2. ความไวในการทำงานของตัวอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ( Response Time ) จะต้องมีค่าน้อยกว่า 25 nSec. 
3. จุดเริ่มทำงานของตัวอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ( Clamping Voltage ) ควรอยู่ในระดับแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสม เช่น อยู่ระหว่าง 256 และ 315 Volt, 50 Hz 
4. ค่าแรงดันไฟฟ้าที่ปรากฏที่โหลด ( Let Through Voltage ) ขณะที่อุปกรณ์ป้องกันกำลังรับไฟกระโชกอยู่ จะต้องมีค่าน้อยกว่า 1500V( Test at Transient 6KV / 3KA ) และ / หรือ มีค่าน้อยกว่า 285 VAC ( Test at TOVs 300 -600 VAC, 50 Hz / 10 - 20 A )

ความรู้อื่นๆ เกี่ยวกับระบบป้องกันไฟกราโชก / ไฟกระชาก


ไฟกระโชก / ไฟกระชาก / Surge คืออะไร ?

คำตอบ :  ไฟกระโชก / ไฟกระชาก / Surge คือสภาวะแรงดันไฟฟ้าสูงๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากสภาวะ ต่าง ๆ เช่น ฟ้าผ่า การตัดต่อหรือการลัดวงจรในระบบสายส่งไฟฟ้ากำลัง การเปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ อุบัติเหตุรถชนเสาไฟฟ้า เป็นต้น โดยเหนี่ยวนำหรือเข้ามาในระบบไฟฟ้าที่ใช้งาน เช่น Single Phase 220 Volt 50 Hz. หรือ Three Phase Four Wire 380/220 Volt 50 Hz. และรวมถึงเข้ามาทางคู่สายสัญญาณต่างๆ เช่น คู่สายโทรศัพท์ และ/หรือ คู่สายวงจรเช่า เป็นต้น ซึ่งมีผลทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เปราะบางต่าง ๆ ( Load ) ที่ต่อใช้งานอยู่ได้รับความเสียหายได้ 
โดยไฟกระโชกหรือ Surge สามารถแบ่งออกได้ คือ
1. ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) คือ สภาวะการเกิดแรงดันไฟฟ้าที่สูงมากๆ เช่นมากกว่า 6000 โวลท์ เกิดขึ้นอย่างฉับพลันใน ช่วงเวลาสั้น ๆ เช่น เศษหนึ่งส่วนล้านของวินาที เป็นต้น

2. ไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( Temporary Over Voltage หรือ TOVs ) คือ สภาวะการเกิดแรงดันไฟฟ้าสูง เช่น ประมาณ 500-1000 โวลท์ เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในช่วงเวลานานไม่เกิน 3 วินาที ( Less than a few seconds ) โดยไฟกระโชกแบบช่วงยาวหรือ TOVs นี้ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เปราะบางต่างๆ ได้รับความเสียหายเป็นส่วนใหญ่ โดยมีรายละเอียดตามที่ระบุไว้ในมาตรฐาน IEEE C62.41.1-2002 หน้า 31
 

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

STABIL Co.,Ltd ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบป้องกันฟ้าผ่า ติดตั้งระบบกราวด์ลึก และอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก Surge protection
 

บริษัท สตาบิล จำกัด  ปลอดภัยจากฟ้าผ่า

โดยกลุ่มวิศวกรที่ปรึกษาคนไทยซึ่งทรงคุณวุฒิ ได้ใช้ระยะเวลาที่ยาวนานกว่าสิบปีสำหรับการวิจัยเพื่อเรียนรู้ถึงสาเหตุของสภาพปัญหาความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้นต่อ

ระบบสื่อสารโทรคมนาคมในต่างสถานที่และสภาพแวดล้อม
 

รวมถึงรูปแบบวิธีการ อุปกรณ์และระบบต่างๆ จำนวนมากได้ถูกนำไปใช้ โดยมีจุดมุ่งหมาย ในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนได้ทำการติดตามผลของการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้แนวทางในการวิจัยเริ่มเข้าสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งได้นำผลลัพธ์ แห่งการเรียนรู้ที่เกิดจาก ภาคสนามจริง มาพัฒนาระบบและอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกต่างๆ (surge)ได้เป็นผลสำเร็จ โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก EPCOS ( formerly named SIEMENS )
 

ซึ่งบริษัทฯ มีความพร้อมและยินดีที่จะนำชุดอุปกรณ์ป้องกันต่างๆมาทำการ สาธิตและทดลองให้เห็นจริง ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นและการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายได้
 

ข้อมูลเพิ่มเติมคลิก